รักษาหลุมสิว
รอยแดง รอยดำจากสิวอักเสบ เป็นอาการหลังมีการอักเสบของสิว ผิวหนังบริเวณนั้นมักจะมีสีที่เปลี่ยนแปลงไป ช่วงแรกอาจเป็นรอยแดงๆ ช้ำๆ ต่อมาสีอาจจะเข้มขึ้น เห็นเป็นสีน้ำตาล จนถึงเกือบดำ โดยมากจะพบในผู้ที่มีผิวคล้ำง่ายกว่า ซึ่งสร้างปัญหาด้านความสวยงามให้ผู้ที่เป็นสิวค่อนข้างมาก โดยทั่วๆ ไป สามารถหายเองได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์ หรืออาจใช้เวลาถึง 18 เดือน ในการจางหายไป
แต่หากไม่ทันใจ ก็อาจจะใช้ยาทาลดรอยดำได้
สาเหตุของปัญหาหลุมสิว
รอยแผลเป็นจากสิว ซึ่งมักจะเกิดจากสิวที่อักเสบ และอยู่ค่อนข้างลึกลงไปในผิว แต่ในบางครั้งก็อาจจะเกิดได้จากสิวอักเสบที่อยู่ตื้น
กว่าได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย เราสามารถแบ่งรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. รอยแผลเป็นนูน (Hypertrophic scar) รอยแผลเป็นชนิดนี้ จะมีลักษณะนูนแข็ง ผิวค่อนข้างเรียบ สีค่อนข้างแดงหรือชมพู ขนาดมีได้ตั้งแต่ 1-2 มิลลิเมตร จนถึงมากกว่า 1 เซนติเมตร ได้ ตำแหน่งที่พบแผลเป็นนูนเหล่านี้ ได้บ่อย คือ บริเวณใต้กราม และ ลำตัวช่วงบน
2. รอยแผลเป็นชนิดบุ๋ม (Ice-pick and Depressed fibrotic scar)
3. แผลเป็นชนิดลึกแหลม (Ice-pick scar) คือ แผลเป็นที่มีลักษณะเป็นรูเล็กๆ ขอบเขตชัดเจน ชัน อาจตื้นหรือลึกก็ได้ พบได้บ่อยที่บริเวณแก้ม
4.แผลเป็นชนิดหลุม (Depressed fibrotic scar) มักจะมีขนาดกว้างกว่า ขอบเขตค่อนข้างชัดเจน ที่ก้นหลุมจะค่อนข้างแข็ง ดึงยืดไม่ได้
5. แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid scar) ลักษณะคล้ายแผลชนิดนูน แต่จะเป็นมากกว่า โดยจะลุกลามขยายกว้างกว่าตัวสิวอักเสบเดิม
วิธีรักษาหลุมสิว
มีหลายวิธี ซึ่งหลุมสิวแต่ละชนิดก็มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน
- หลุมสิวแบบจิก (Ice pick) มีวิธีการรักษา เช่น
1) การผ่าตัดออกทั้งหลุมสิวแล้วเย็บปิด(Punch excision) หรือ ตัดออกแล้วเอาเนื้อเยื่อที่ดีมาเย็บปิด (Punch graft)
2) ใช้ TCA แต้ม
3) ใช้เทคโนโลยี ที่มีผลต่อเนื้อเยื่อใกล้เคียงกับข้อ 1 เป็นต้น
- หลุมสิวแบบกล่อง (Boxcar และ Shallow) มีวิธีการรักษา
1) การเจาะแผลเป็นแล้วยกผิวขึ้น(Punch elevation)
2) การกรอหน้าแบบลึกและแบบตื้น (Dermabration/Microdermabration)
3) ใช้เครื่องเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุ (Laser/RF)
3.1) ที่ทำให้เกิดแผลบนผิวหน้าทั้งหมด(Ablative) เช่น CO2Laser ปัจจุบันไม่ใช้เพราะผลข้างเคียงเยอะ
3.2) ทำให้เกิดแผลบนผิวบางส่วนเป็นจุดๆ (Sublative) เช่น nano-Fractional RF(venus viva), Fractional RF(Ematrix, Etwo), FractionalCO2, Fractional Er:Yag
3.3) ไม่ทำให้เกิดแผลบนผิว(Nonablative)
ซึ่งมีทั้งที่เป็น Fractional และไม่เป็นfractional เช่น Er:Glass laser(Fraxel), Long pulsed laser (Evo laser)
- หลุมสิวแบบแอ่ง (rolling)
1) ใช้ฟิลเลอร์เติม
2) ตัดพังผืด subcision
ซึ่งใบหน้าของคนไข้เกือบทั้งหมดจะมีลักษณะหลุมสิวทั้งสี่ชนิด กระจัดกระจายมากน้อยแตกต่างกัน บางตำแหน่งของผิวก็อาจจะมีหลุมสิวหลายชนิดรวมกัน ดังนั้น การรักษาหลุมสิวในคนไข้หนึ่งคนจึงต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกันตามแต่ละชนิดของหลุมสิวนั้นๆ ในแต่ละบริเวณบนใบหน้า และอาจจะต้องมีตัวช่วยร่างกายให้สร้างเนื้อเยื่อได้ดีขึ้น ซึ่งจะแนะนำในคนที่อายุสามสิบขึ้นไปหรือน้อยกว่านั้นก็ได้เพื่อประสิทธิภาพของการรักษาที่ชัดเจนและเห็นผลเร็วขึ้น
รักษาหลุมสิว
รอยแดง รอยดำจากสิวอักเสบ เป็นอาการหลังมีการอักเสบของสิว ผิวหนังบริเวณนั้นมักจะมีสีที่เปลี่ยนแปลงไป ช่วงแรกอาจเป็นรอยแดงๆ ช้ำๆ ต่อมาสีอาจจะเข้มขึ้น เห็นเป็นสีน้ำตาล จนถึงเกือบดำ โดยมากจะพบในผู้ที่มีผิวคล้ำง่ายกว่า ซึ่งสร้างปัญหาด้านความสวยงามให้ผู้ที่เป็นสิวค่อนข้างมาก โดยทั่วๆ ไป สามารถหายเองได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์
หรืออาจใช้เวลาถึง 18 เดือน ในการจางหายไปแต่หากไม่ทันใจ ก็อาจจะใช้ยาทาลดรอยดำได้
2. รอยแผลเป็นชนิดบุ๋ม (Ice-pick and Depressed fibrotic scar)
3. แผลเป็นชนิดลึกแหลม (Ice-pick scar) คือ แผลเป็นที่มีลักษณะเป็นรูเล็กๆ ขอบเขตชัดเจน ชัน อาจตื้นหรือลึกก็ได้ พบได้บ่อยที่บริเวณแก้ม
4.แผลเป็นชนิดหลุม (Depressed fibrotic scar) มักจะมีขนาดกว้างกว่า ขอบเขตค่อนข้างชัดเจน ที่ก้นหลุมจะค่อนข้างแข็ง ดึงยืดไม่ได้
5. แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid scar) ลักษณะคล้ายแผลชนิดนูน แต่จะเป็นมากกว่า โดยจะลุกลามขยายกว้างกว่าตัวสิวอักเสบเดิม
วิธีรักษาหลุมสิว
มีหลายวิธี ซึ่งหลุมสิวแต่ละชนิดก็มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน
- หลุมสิวแบบจิก (Ice pick) มีวิธีการรักษา เช่น
1) การผ่าตัดออกทั้งหลุมสิวแล้วเย็บปิด(Punch excision) หรือ ตัดออกแล้วเอาเนื้อเยื่อที่ดีมาเย็บปิด (Punch graft)
2) ใช้ TCA แต้ม
3) ใช้เทคโนโลยี ที่มีผลต่อเนื้อเยื่อใกล้เคียงกับข้อ 1 เป็นต้น
- หลุมสิวแบบกล่อง (Boxcar และ Shallow) มีวิธีการรักษา
1) การเจาะแผลเป็นแล้วยกผิวขึ้น(Punch elevation)
2) การกรอหน้าแบบลึกและแบบตื้น (Dermabration/Microdermabration)
3) ใช้เครื่องเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุ (Laser/RF)
3.1) ที่ทำให้เกิดแผลบนผิวหน้าทั้งหมด(Ablative) เช่น CO2Laser ปัจจุบันไม่ใช้เพราะผลข้างเคียงเยอะ
3.2) ทำให้เกิดแผลบนผิวบางส่วนเป็นจุดๆ (Sublative) เช่น nano-Fractional RF(venus viva), Fractional RF(Ematrix, Etwo), FractionalCO2, Fractional Er:Yag
3.3) ไม่ทำให้เกิดแผลบนผิว(Nonablative) ซึ่งมีทั้งที่เป็น Fractional และไม่เป็นfractional เช่น Er:Glass laser(Fraxel), Long pulsed laser (Evo laser)
- หลุมสิวแบบแอ่ง (rolling)
1) ใช้ฟิลเลอร์เติม
2) ตัดพังผืด subcision
ซึ่งใบหน้าของคนไข้เกือบทั้งหมดจะมีลักษณะหลุมสิวทั้งสี่ชนิด กระจัดกระจายมากน้อยแตกต่างกัน บางตำแหน่งของผิวก็อาจจะมีหลุมสิวหลายชนิดรวมกัน ดังนั้น การรักษาหลุมสิวในคนไข้หนึ่งคนจึงต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกันตามแต่ละชนิดของหลุมสิวนั้นๆ ในแต่ละบริเวณบนใบหน้า และอาจจะต้องมีตัวช่วยร่างกายให้สร้างเนื้อเยื่อได้ดีขึ้น ซึ่งจะแนะนำในคนที่อายุสามสิบขึ้นไปหรือน้อยกว่านั้นก็ได้เพื่อประสิทธิภาพของการรักษาที่ชัดเจนและเห็นผลเร็วขึ้น